โตโยต้า คิกออฟ ‘Multi-Pathway Strategy’

เพื่อบรรลุพันธกิจดังกล่าวโตโยต้า ในฐานะ “องค์กรแห่งการขับเคลื่อนที่เพียบพร้อมด้วยยานยนต์ไฟในทุกรูปแบบ” โดยได้กำหนดกลยุทธ์หลักเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทางหรือ “Multi-Pathway Strategy” ว่าด้วยการมุ่งมั่นในการเฟ้นหาทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน โดยคำนึงถึงความเป็นจริงของโลกในยุคปัจจุบันที่ผู้คนเต็มไปด้วยความหลากหลายและยากจะคาดเดา ด้วยเหตุนี้โตโยต้าจึงมุ่งเตรียมเสนอทางเลือกต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อรองรับความต้องการของผู้คนทั่วโลกและเพื่อสอดรับกับปรัชญาของโตโยต้าที่จะมุ่งผลักดัน “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” โดย “ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ทั้งนี้ ได้นำมาสู่การคิดค้นนำเสนอนวัตกรรมยานยนต์รูปแบบใหม่ๆ ทั้งการวิจัยพัฒนาระบบขับเคลื่อนต่างๆ ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันรองรับการใช้งานพลังงานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นทางเลือกในการเดินทางของผู้คนด้วยยานยนต์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม และมีส่วนในการลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน”

โตโยต้าไม่อาจวางรากฐานการเปลี่ยนผ่านทั้งองคาพยพได้เพียงลำพัง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นทั้งหลายตลอดจนต้องมีความเข้าใจถึงข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ของผู้คน เช่น พฤติกรรมการใช้งาน ระดับความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในแต่ละเทคโนโลยีเครื่องยนต์ภายใต้สภาพแวดล้อมการใช้งานจริงในประเทศไทย

โตโยต้าจึงได้เริ่มโครงการทดลองเพื่อศึกษาวิจัยข้อมูลดังกล่าวภายใต้ “โครงการทดลองการเดินทางโดยระบบขับเคลื่อนยุคใหม่เพื่อลดมลพิษในเมืองพัทยา” ที่ทศเมืองพัทยา ตั้งแต่ปี 2563 โดยร่วมกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ อาทิ องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน ตลอดจนภาครัฐและผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรี ร่วมจัดสร้างระบบนิเวศรองรับการใช้งานยานยนต์ที่เราได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวทดลองใช้งานในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงความร่วมมือในโครงการเปิดสถานีไฮโดรเจนแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) ที่โตโยต้านำมาสาธิตการใช้งานในรูปแบบของรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภาเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา-ชลบุรี อีกด้วย

โตโยต้าได้มีการนำรถยนต์ซึ่งมีเทคโนโลยีขับเคลื่อนหลากหลายรูปแบบมาทดลองใช้งานได้แก่ การให้บริการเดินทางรูปแบบระยะสั้น ด้วยรถยนต์โตโยต้า รุ่นซี พลัส พอด (C+Pod) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าขนาดเล็ก (BEV) มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 690 กิโลกรัม ใช้โครงสร้างตัวรถส่วนใหญ่ผลิตจากพลาสติกเพื่อให้มีน้ำหนักเบาประหยัดพลังงาน ภายในห้องโดยสารบรรทุกผู้โดยสาร 2 คนกับมีพื้นที่เก็บสัมภาระได้พอสมควร ระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีมีกำลัง 12.3 แรงม้า กับแรงบิด 56 นิวตัน-เมตร ติดตั้งไว้ที่ล้อรถด้านหลัง ส่วนแบตเตอรี่แบบ Lithium-ion ขนาด 9.06 กิโลวัตต์ ทำความเร็วได้สูงสุดที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อชาร์จไฟเต็มวิ่งได้ไกล 80 กิโลเมตรคำพูดจาก นสล็อตออนไลน์

สำหรับการให้บริการเดินทางรูปแบบระยะกลาง (Multi Travelling) ทางโตโยต้าก็มีรถยนต์หลายรุ่นให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้ไปยังสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ภายในพื้นที่ตัวเมืองพัทยาและพื้นที่ไกล้เคียง อาทิ โตโยต้า รุ่นพริอุส Prime (รุ่นที่ 4) รถยนต์พลังงานลูกผสมเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรกับมอเตอร์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่แบบปลั๊ก-อินไฮบริด (PHEV) ให้กำลังสูงสุด 121 แรงม้า แรงบิด 142 นิวตัน-เมตร -ทำความเร็วสูงสุด 135 กม./ชมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรงฝาก. วิ่งไกลถึง 1,000 กิโลเมตร สำหรับรถยนต์ที่เหมาะกับการเดินทางระยะกลางอีก 2 รุ่นที่ทางโตโยต้านำมาให้ทดลองขับก็คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไฮบริด (HEV) รุ่นโคโรลล่า ครอส วิ่งได้ไกล 800 กิโลเมตร และรถยนต์พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า (BEV) เลกซัส ยูเอ็กซ์ วิ่งได้ไกล 400 กิโลเมตร

ในส่วนของการให้บริการเดินทางรูปแบบระยะไกลอย่างการให้บริการนักท่องเที่ยวในรูปแบบของรถโดยสารสาธารณะ สำหรับรับส่งผู้โดยสารเส้นทางระหว่างสนามบินอู่ตะเภา-เมืองพัทยา-กรุงเทพฯ รถยนต์ที่เหมาะสมคือโตโยต้า รุ่นมิไร รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle : FCEV) รุ่นที่ 2 ได้ทดลองขับในทริปนี้เปิดตัวในปี 2562 สวยงามปราดเปรียวและกว้างขวางขึ้นในสไตล์รถสปอร์ตซีดานแล้ว ส่วนในด้านพละกำลังมิไร รุ่นที่ 2 มีกำลังม้าสูงสุด 182 แรงม้าแรงบิดอยู่ที่ 300 นิวตัน-เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ การให้บริการรถยนต์ใน “โครงการทดลองการเดินทางโดยระบบขับเคลื่อนยุคใหม่เพื่อลดมลพิษในเมืองพัทยา” เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจสามารถจองการใช้บริการได้ด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน HAUP สำหรับบริการเดินทางแบบระยะสั้นและระยะกลางในขณะที่บริการเดินทางแบบระยะไกลสามารถติดต่อใช้บริการได้ผ่านช่องทางการติดต่อของอู่ตะเภาแอร์พอร์ตลีมูซีน

ในส่วนของสถานีชาร์จพลังงานของรถที่ใช้ภายในโครงการฯ นี้ ปัจจุบันโตโยต้าได้มีการร่วมมือกับพันธมิตรในการติดตั้งสถานีชาร์จเพื่อรองรับการให้บริการไว้จำนวนทั้งสิ้น 3 จุด ในเขตพื้นที่เมืองพัทยา รวมถึงสถานีเติมไฮโดรเจนแห่งแรกในประเทศไทย อำเภอบางละมุง และมีเป้าหมายที่จะขยายความร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ คาดหวังว่าผลสำเร็จที่ได้รับจากโครงการความร่วมมือนี้ จะขยายผลไปยังภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางรากฐานระบบคมนาคมในยุคหน้าตลอดจนเป็นแนวทางให้โตโยต้านำเสนอทางเลือกในการเดินทางที่เหมาะสม และสามารถเติมเต็มพันธกิจในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนไปพร้อมกับชาวไทยทุกคน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง.